หน่วยที่1



ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับโรคหืด

โรคหืด (Asthma) ชื่อเรียกที่ถูกต้องคือ “โรคหืด” ที่มักเรียกกัน ว่า “หอบหืด” เป็นเพราะนำเอาอาการ “หอบ”มารวมกับชื่อของโรค

โรคหืด คือโรคที่มีอาการอักเสบเรื้อรังของระบบทางเดินหายใจ หลอดลมมีความไวต่อสิ่งกระตุ้นมากผิดปกติ การไหลเวียนของอากาศในระบบทางเดินหายใจลดลง เนื่องจากหลอดลมหดตัว เยื่อบุภายในหลอดลมบวมขึ้น มีเสมหะอุดตันในหลอดลม ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องเยื่อบุหลอดลมอาจเสื่อมสภาพลงได้

สารกระตุ้นที่ก่อให้เกิดโรคหืดมักจะเกิดจากสารก่อภูมิแพ้ เนื่องจากหลอดลมสัมผัสกับสารกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารฮิสตามีนออกมา ส่งผลให้เกิดอาการอักเสบเรื้อรังที่หลอดลมและเยื่อบุทางเดินหายใจ ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการไอ เจ็บหน้าอก และหายใจไม่ออก เนื่องจากการหดเกร็งของหลอดลม

อาการเบื้องต้น

โรคหืดจะเกิดในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หายใจลำบาก หายใจมีเสียงวี้ด ไอ จาม มีน้ำมูก แน่นหน้าอก เหนื่อย หอบ ต้องสูดหายใจยาวกว่าปกติ ตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัด เกิดอาการเกร็งทั่วร่างกาย หากมีอาการรุนแรงจะมีอาการช็อก อาจหมดสติ

โดยทั่วไปจะแบ่งขั้นความรุนแรงของโรคหืด ดังนี้

ขั้นที่ 1ความรุนแรงระดับอาการเบื้องต้น

ผู้ป่วยมีอาการของโรคหืดน้อยกว่าสัปดาห์ละ1ครั้ง ไม่ค่อยมีอาการในตอนกลางคืน จะหอบช่วงกลางคืนเพียงไม่เกิน 2 เดือน เมื่อตรวจดูสมรรถภาพของปอดพบว่ายังเป็นปกติ

ขั้นที่ 2 ระดับรุนแรงน้อย

โดยมีอาการของโรคมากกว่า 1 ครั้งในสัปดาห์ แต่ยังไม่ถี่ถึงขนาดมีอาการทุกวัน ในช่วงกลางคืนจะหอบมากกว่า 2 ครั้งต่อเดือน

ขั้นที่ 3 ระดับรุนแรงปานกลาง

หอบทุกวัน การหอบในตอนกลางคืนเฉลี่ยเกินกว่าสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และอาการที่เป็นจะกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวัน

ขั้นที่ 4ระดับรุนแรงมาก

ผู้ป่วยมีอาการหอบตลอดเวลา และเป็นบ่อยมากในตอนกลางคืน อาการแสดงจะรบกวนต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก

สาเหตุของโรคหืดโดยทั่วไป

สัมผัสและได้รับสารกระตุ้นที่ก่อให้เกิดอาการโรคหืด ทำให้ร่างกายหลั่งสารฮิสตามีนออกมา ส่งผลให้หลอดลมเกิดอาการตีบ จึงเกิดอาการหอบ

การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและอุณหภูมิอย่างกะทันหัน หากไม่รักษาอุณหภูมิของร่างกายให้อบอุ่น จะทำให้หลอดลมเกิดอาการหดเกร็ง ก่อให้เกิดการกำเริบของโรคหืด

การออกกำลังกายอย่างหักโหมต่อเนื่องเป็นเวลานาน โดยไม่เปิดโอกาสให้ร่างกายได้หยุดพัก อาจก่อให้เกิดอาการกำเริบของโรคหืดได้ ความเครียด เป็นปัจจัยที่สามารถกระตุ้นให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอลง ทำให้อาการของโรคหืดกำเริบได้

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหืด

1.สภาวะภายในตัวของผู้ป่วย

กรรมพันธุ์

โรคภูมิแพ้

2.สภาวะภายนอก

มลพิษจากสภาพแวดล้อม

ควันบุหรี่

มลภาวะในอากาศ

ได้รับสารก่อภูมิแพ้

การติดเชื้อในระบบทางเดนหายใจ


แหล่งที่มา ดร.ปทัตตา ภริตาธรรม(2551)รู้เท่าทัน โรคภูมิแพ้ โรคหืด.สำนักพิมพ์แพรธรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น