หน่วยที่2


การวินิจฉัยโรค

การซักถามประวัติของผู้ป่วยเกี่ยวกับรายละเอียดของอาการโรคประจำตัว ประวัติอาการป่วยย้อนหลัง ประวัติการป่วยของครอบครัว สภาพแวดล้อมที่บ้าน และลักษณะการดำเนินชีวิต

การตรวจร่างกาย ถ้าตรวจในขณะที่อาการกำเริบ อาจพบความผิดปกติได้อย่างชัดเจน แต่หากในช่วงที่อาการยังไม่กำเริบอาจไม่พบความผิดปกติใดๆ

การตรวจสมรรถภาพของปอด ตรวจการทำงานของปอดว่าปกติดีหรือไม่ หลอดลมมีการหดตัวอย่างไร

นอกจากการตรวจเบื้องต้นดังกล่าวแล้ว อาจมีการตรวจสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง และเอกซเรย์ปอด

การรักษาเบื้องต้น

การรักษาโรคหืด โดยทั่วไปมีขั้นตอนหลักอยู่ 3 ประการ คือ

1.หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้

2.การใช้ยา

การเลือกใช้ยาขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรค ยาที่ใช้รักษาโรคหืดจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

            ยาใช้เฉพาะในช่วงกำเริบ

ช่วยบรรเทาอาการไอ แน่นหน้าอก หายใจติดขัด

            ยาใช้เป็นประจำ

เพื่อควบคุมอาการของโรค เป็นการป้องกันและลดระดับความรุนแรงในการกำเริบของโรค

            หลักในการใช้ยาของผู้ป่วยโรคหืดก็คือ ใช้ยาให้เหมาะกับโรค ใช้ยาเท่าที่จำเป็น เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตตามปกติ และต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์ อย่าซื้อยากินเอง อย่าคิดว่าไม่มีอาการแล้วจึงหยุดยาด้วยตนเอง เพราะการทำเช่นนี้อาจก่อให้เกิดอาการดื้อยาได้ เพราะบางครั้งอาการยังไม่สงบลง เพียงแต่แฝงอยู่ยังไม่แสดงออกมาอย่างเต็มที่เท่านั้น

            บางคนกลัวว่าใช้ยามากหรือเป็นเวลานานแล้วจะส่งผลข้างเคียงกับร่างกาย นั่นเป็นความเข้าใจผิด เพราะผู้ป่วยโรคหืดต้องใช้ยาคอยกดอาการไว้

3.การฉีดวัคซีนภูมิแพ้

            วิธีนี้ใช้สำหรับผู้ป่วยภูมิแพ้เพื่อปรับสภาวะภูมิต้านทานของผู้ป่วยที่เคยแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้

ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจสมรรถภาพของปอดปีละ 1 ครั้ง ควรมีเครื่องวัดการทำงานของปอดแบบพกพา (Peak Flow Meter) ประจำไว้ที่บ้าน แล้วจดบันทึกการวัดไว้ เพื่อนำไปให้แพทย์ประเมินระดับความรุนแรงของโรคได้

            การรักษาโรคหืดเพื่อควบคุมอาการไม่ให้เพิ่มระดับความรุนแรง รักษาระดับการทำงานของปอดให้อยู่ในระดับปกติ ให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติให้มากที่สุด สิ่งสำคัญก็คือ ผู้ป่วยต้องใส่ใจดูแลสุขภาพของตน คอยหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่อการก่อเกิดการกำเริบของโรคให้มากที่สุด

ลักษณะของโรคหืด

เป็นการแบ่งประเภทตามลักษณะอาการของผู้ป่วย

โรคหืดปกติ

อาการหอบหืดจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันออ่นแอ

อาการ

            หายใจไม่สะดวก

            จาม มีน้ำมวก

            แน่นหน้าอก

เหนื่อย หอบ ต้องสูดหายใจยาว

เกิดอาการเกร็งทั่วร่างกาย

มองเห็นภาพไม่ชัดเจน

หากผู้ป่วยไม่ได้รับการฉีดยาพ่นขยายหลอดลม อาจมีอาการชักและหมดสติ

 

สาเหตุ

สัมผัสและได้รับสารกระตุ้นที่ก่อให้เกิดอาการโรคหืด ทำให้ร่างกายหลั่งสารฮิสตามีนออกมา ส่งผลให้หลอดลมเกิดอาการตีบ จึงเกิดอาการหอบ

การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและอุณหภูมิอย่างกะทันหัน หากไม่รักษาอุณหภูมิของร่างกายให้อบอุ่น จะทำให้หลอดลมเกิดอาการหดเกร็ง ก่อให้เกิดอาการกำเริบของโรคหืด

การออกกำลังกายอย่างหักโหมต่อเนื่องเป็นเวลานาน โดยไม่เปิดโอกาสให้ร่างกายได้หยุดพัก อาจก่อให้เกิดอาการกำเริบของโรคหืดได้

ความเครียด เป็นปัจจัยที่สามารถกระตุ้นให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอลง ทำให้อาการของโรคหืดกำเริบ

การรักษาและการป้องกัน

หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นอาการกำเริบ

หมั่นออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และเลือกกินอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ

ดูแลร่างกายให้อยู่ในสภาพแข็งแรงเสมอ

หมั่นบริหารสมองอยู่เป็นประจำ

รักษาสภาพจิตใจให้เป็นปกติ

เมื่อมีอาการให้ฉีดยาพ่นเพื่อขยายหลอดลม หากอาการไม่ทุเลา ต้องรีบไปพบแพทย์

พกยาพ่นแก้หืดติดตัวไว้ตลอดเวลา

โรคหืดแบบเฉียบพลัน

โรคหืดชนิดนี้อาจเกิดกับผู้ที่ไม่เคยมีอาการของโรคได้ โรคคหืดชนิดนี้หากมีอาการแล้วไม่รีบรักษาอย่างถูกวิธี อาจทำให้เสียชีวิตได้

อาการ

หอบอย่างรุนแรง หายใจไม่ออก

ชีพจรเต้นมากกว่า 160 ครั้งต่อนาที

หัวใจเต้นแรง และเร็ว จนหายใจเกือบไม่ทัน

พูดไม่เป็นประโยค

หายใจดังมากกว่าปกติ

เจ็บบริเวณปอดอย่างมาก

เหงื่อออกมาก

ไม่สามารถนอนราบได้

หน้ามืด วิงเวียน

มีอาการเกร็งที่ขา แขน และใบหน้า

เริ่มหมดสภาพในการรับรู้

หากผู้ป่วยไม่ได้รับการฉีดยาพ่นขยายหลอดลม ผู้ป่วยจะหมดสติ หากมีอาการหัวใจเต้นเร็วและมีอาการหลอดลมตีบแคบมาก ผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิตได้

สาเหตุ

เกิดอาการช็อก

ทำงานหนักติดต่อกันเป็นเวลานานโดยไม่ได้หยุดพักผ่อน

เกิดอาการผิดปกติที่ระบบประสาท

เส้นเลือดฝอยที่ปลายประสาทแตก

กินยาที่เป็นปัจจัยกระตุ้นอาการแพ้พร้อมกันหลายชนิด ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ

ได้รับหรือสัมผัสกับสารกระตุ้นหลายชนิด ทำให้ร่างกายปรับสภาพไม่ทัน

การรักษาและการป้องกัน

หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นอาการกำเริบ

ดูแลร่างให้อยู่ในสภาพแข็งแรง

หมั่นออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และเลือกกินอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ

หมั่นบริหารสมองอยู่เป็นประจำ

รักษาสภาพจิตใจให้เป็นปกติ

เมื่อมีอาการให้ฉีดยาพ่นเพื่อขายหลอดลม หากอาการไม่ทุเลาต้องรีบไปพบแพทย์

ผลกระทบของโรคหืด

การป่วยเป็นโรคหืดแล้วไม่เข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี หรือไม่หมั่นดูแลตนเอง จะก่อให้เกิดผลข้างเคียงเหล่านี้

ทำให้ผู้ป่วยพักผ่อนได้ไม่เต็มที่

เด็กที่ป่วยเป็นโรคหืดจะมีขนาดตัวเล็ก ไม่แข็งแรง ภูมิต้านทานน้อย

เด็กที่ป่วยเป็นหืดเรื้อรัง จะมีพัฒนาการทางสมองช้ากว่าปกติ

ผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคหืดจะเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น ไซนัส โรคหัวใจ เป็นต้น

หากมีอาการกำเริบเรื่อยๆ ทำให้สมองขาดออกซิเจนบ่อยๆ ส่งผลให้สมองกลายเป็นอัมพาต

สตรีตั้งครรภ์ที่ไม่รับการรักษา อาจให้กำเนิดทารกที่ป่วยเป็นโรคหืด

โรคหืดจะทำให้ผู้สูงอายุป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับสมองได้

อาการหืดแบบเฉียบพลัน อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต
 

แหล่งที่มา ดร.ปทัตตา ภริตาธรรม(2551)รู้เท่าทัน โรคภูมิแพ้ โรคหืด.สำนักพิมพ์แพรธรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น